วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฉันทลักษณ์ประเภทฉันท์ในบทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธา

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดคำฉันท์ มัทนะพาธา    ด้วยคำประพันธ์ประเภทฉันท์และกาพย์  บางตอนใช้กาพย์ยานี ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว  ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและเน้นอารมณ์ก็มักใช้ฉันท์   โดยในองค์ที่ ๑  ปรากฏบทละครพูดที่ใช้ฉันท์ประเภทต่างๆ ในการประพันธ์ ได้แก่  วิชชุมมาลาฉันท์ ๘  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑  วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ อินทวงส์ ๑๒  ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้และฝึกการแต่งคำประพันธ์ตามฉันทลักษณ์และหัวข้อที่กำหนด
ให้  ทำให้เข้าใจฉันทลักษณ์ต่างๆ ของฉันท์มากขึ้น

             ครุ-ลหุ   
                หมายถึงลักษณะของเสียงคำหรือพยางค์ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการแต่งคำประพันธ์
ประเภทฉันท์  เนื่องจากคำประพันธ์ประเภทฉันท์นั้นบังคับครุ   ลหุ

                  ครุ  (อ่านว่า  คะ-รุหมายถึง  เสียงหนัก    เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด   หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงตัวสะกดทุกมาตรา  (ได้แก่  แม่ กก  กด  กบ  กง  กน  กม  เกย  และเกอว เช่นคำว่า  ฟ้า  นั่ง  พริก  ไหม  รม  นนท์  เชษฐ์ 

                  ลหุ  (อ่านว่า  ละ-หุหมายถึง  เสียงเบา   เป็นคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด  หรือเป็นคำหรือพยางค์ที่มีเสียงสระเสียงสั้นและไม่มีเสียงตัวสะกด  เช่น ณ ธ บ่ ก็ พิ ผิ เจาะ เหาะ 


  ๑วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
               หมายถึง ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้าแลบที่มีรัศมีแผ่ไปไกล



           ฉันทลักษณ์: ฉันท์บทหนึ่งมี บาท บาทละ วรรค วรรคละ คำ วรรคเป็น คำ  จึงเขียน          หลังชื่อวิชชุมมาลาฉันท์ 



            ตัวอย่าง                   อันเวทมนต์อาถรรพณ์          ที่พันผูกจิต                                   

                                         แห่งนางมิ่งมิตร                      อยู่บัดนี้นา                                    

                                         จงเคลื่อนคลายฤทธิ์                จากจิตกัญญา                                    

                                         คลายคลายอย่างช้า                สวัสดีสวาหาย


.    อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

        หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ นิยมแต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญ
           คณะและพยางค์ : ฉันท์บทหนึ่งมี บาท บาทละ วรรค วรรคต้นมี คำ วรรคท้ายมี คำ รวมบาท ละ ๑๑ คำ จึงเขียน ๑๑ ไว้ท้ายชื่อฉันท์ 



                    ตัวอย่าง                ดูก่อนสุชาตา              มะทะนาวิไลศรี
                                ยามองค์สุเทษณ์มี                        วรพจน์ประการใด,
                                 นางจงทำนูลตอบ                        มะธุรสธตรัสไซร้ ;
                                 เข้าใจมิเข้าใจ                             ฤก็ตอบพะจีพลัน.

   ๓. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

      หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลางามวิจิตรประดุจรอยแต้มที่กลีบเมฆ ซึ่งปรากฏในเดือน ๕ เดือน ๖ แห่งฤดูคิมหันต์ เป็นฉันท์ที่มีความไพเราะที่สุด นิยมแต่งพรรณนาความเศร้าโศกหรือความงดงาม
       คณะและพยางค์ :   ฉันท์บทหนึ่งมี บาท บาทหนึ่งมี  วรรค วรรคต้นมี คำ วรรคท้ายมี คำ
 รวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ 






 ตัวอย่าง      สุเทษณ์             ความรักละเหี่ยอุระระทด        เพราะมิอาจจะคลอเคลีย.
                     มัทนา                ความรักระทดอุระละเหี่ย       ฤจะหายเพราะเคลียคลอ?
                    สุเทษณ์              โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา          บมิตอบพะจีพอ?
                     มัทนา                โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ            มะทะนามิพอดี!
                    สุเทษณ์              เสียแรงสุเทษณ์นะประดิพัทธ์   มะทะนาบเปรมปรีดิ์.
                     มัทนา                แม้ข้า เปรมปฺริยะฉะนี้        ผิจะโปรดก็เสียแรง.


.   อินทวงส์ ๑๒  หมายถึง มีความหมายว่า  “ฉันท์ที่มีท่วงทำนองลีลาดุจอินทวงสเทวราช

      คณะและพยางค์ :    อินทวงสฉันท์     มี บาท  วรรคหน้ามีจำนวน    คำ/พยางค์   และวรรคหลังมีจำนวน    คำ/พยางค์ 



                ตัวอย่าง                  อ้ายอดสิเนหา          มะทะนาวิสุทธิศรี,
                                 อย่าทรงพระโศกี                   วรพักตร์จะหม่นจะหมอง.
                                 พี่นี้นะรักเจ้า                          และจะเฝ้าประคับประคอง
                                 คู่ชิดสนิทน้อง                       บ่มิให้ระคางระคาย.

1 ความคิดเห็น: